วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เต้าฮวยนมสด โดนัท ข้าวเกรียบปากหม้อ สาลี่นึ่ง ทับทิมกรอบ สาคูไส้หมู โดย ต้นกล้าอาชีพนครสวรรค์ รุ่น7

เต้าฮวยนมสด
เป็นการผสมผสานระหว่าง นม นมถั่วเหลือง ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอยู่แล้ว แถมยังเพิ่มคุณค่าโดยการเติมผลไม้ และธัญพืชลงไปด้วย
เรียกว่าอร่อยอย่างมีสาระ..ค่ะ


ต้นกล้าอาชีพนครสวรรค์ รุ่นที่ 7
สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 8 นครสวรรค์


ส่วนที่เป็นเต้าฮวย

ส่วนผสม นมข้นหวาน น้ำนมถั่วเหลือง น้ำตาลทราย ผงวุ้น เจลาตินแผ่น น้ำเปล่า


วิธีทำ ผสมผงวุ้นกับน้ำ เคี่ยวจนละลาย แล้วเติมเจลาตินที่แช่น้ำ เติมนมข้นหวาน นมถั่วเหลือง น้ำตาลทราย และน้ำ

ส่วนของนมสด

ส่วนผสม นมข้นจืด นมสด ผงวนิลา น้ำ

วิธีทำ นำนมข้นจืดและนมสด ตั่งไฟเคี่ยวจนเดือด ใส่ผงวนิลาเพิ่มกลิ่นและรสชาติ

ส่วนผสมน้ำเต้าฮวยนมสดค่ะ

เทเต้าฮวยใส่ถ้วยรอสักพักให้แข็งตัว แล้วค่อยใส่ผลไม้ตาม

เต้าฮวยนมสด สีสันสดใส...อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารค่ะ


เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพโดยต้นกล้าอาชีพนครสวรรค์ รุ่นที่ 7

อาหารที่เหมาะสมสำหรับคนวัยทอง

คนวัยทองนั้นคือคนที่กำลังจะก้าวเข้าสู่วัยของความเสื่อมทั้งร่างกายและจิตใจ อาหารที่กินนั้นควรเป็นอาหารที่ปลอดภัยต่อสารพิษสูง

ควรดื่มนม เพื่อเสริมความแข็งแรงของกระดูกและฟัน

เพิ่มการกินอาหารประเภทผักและผลไม้ เช่นผักบุ้ง กระถิน ตำลึง เป็นอาหารที่มีสารพิษน้อย ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันมะเร็งลำไส้ได้

เน้นทานปลา โดยเฉพาะปลาทะเล เพราะย่อยง่ายและมีไขมันน้อย

ควรทานข้าวกล้อง สามารถป้องกันโรคเหน็บชามีเส้นใยอาหารที่ดีต่อระบบขับถ่าย

แหล่งข้อมูล : โรงพยาบาลค่ายจิระประวัตินครสวรรค์

ขนมโดนัท
ทำง่ายไม่อยากอย่างที่คิดส่วนสำคัญอยู่ทีการนวดแป้ง...ค่ะ

สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 8 นครสวรรค์
เคล็ดลับสูตรอาหาร จาก ต้นกล้าอาชีพนครสวรรค์รุ่นที่ 7

ส่วนผสม แป้งห่าน นมผง ยีสต์ เกลือ ไข่ไก่ แป้งบัวแดง ผงฟู น้ำตาลทราย น้ำ เนยขาว
วิธีทำ ผสมทุกอย่างลงในเครื่องนวดจนเนียน ตัดแป้งเป็นก้อน คลึงกลมพักไว้ 20 นาที เจารูตรงกลางทิ้งให้ขึ้นอีก 10 นาที นำไปทอดในน้ำมันร้อนปานกลางสะเด็ดน้ำมันคลุกน้ำตาล

นวด.. นวด.. นวด.. แล้วก็ นวด.. ไปเรื่อยๆๆๆๆ...

ในขณะที่ทุกคนกำลังชุลมุนวุ่นวายกันอยู่..
ก็ยังมีอีกหนึ่งรอยยิ้มที่คอยให้กำลังใจพวกเราค่ะ


ทอดๆ... แล้วก็คลุกน้ำตาล เวลาทอดใช้ตะเกียบหมุนในรูโดนัทด้วยนะ
เป็นเทคนิคอีกแล้ว


ขนมโดนัทน่ากินมั๊ยค่ะ....


เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพโดยต้นกล้าอาชีพนครสวรรค์รุ่นที่7

อาหารบำรุงสมอง

ปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาสำลี ปลาซาร์ดีน ปลาช่อน ล้วนมีสารโอเมก้า 3 อยู่ในปริมาณสูงทั้งนั้น จะช่วยสร้างน้ำที่เยื่อหุ้มเซลล์สมองจึงทำให้เกิดการส่งสัญญาณระหว่างเซลล์กับประสาททำงานดีขึ้น

ผัก ชนิดต่างๆ ทำให้สมองมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพราะช่วยต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย

ตับ ถั่ว นม และ ไข่ ช่วยให้ความจำดีขึ้น

ดื่มไวน์ เหล้าและวิสกี้ วันละ 1แก้ว เป็นประจำลดความจำเสื่อมและสมองฝ่อได้

แหล่งข้อมูล : โรงพยาบาลค่ายจิระประวัตินครสวรรค์

ข้าวเกรียบปากหม้อ
สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนครสวรรค์ภาค 8
กลุ่มต้นกล้าอาชีพนครสวรรค์ รุ่นที่7


ส่วนผสม แป้งท้าวยายม่อม แป้งมัน แป้งข้าวเจ้า น้ำ
วิธีทำ แป้งท้าวยายม่อมจะต้องบดให้ละเอียดก่อน ผสมกับแป้งมันและแป้งข้าวเจ้า ค่อยๆเติมน้ำที่ผสมกับสี ทิ้งไว้ให้แป้งอยู่ตัวแล้วค่อยใส่น้ำที่เหลือตาม

อาจารย์อ้อยสอนพวกเราทำข้าวเกรียบปากหม้อ...
เล่นเอาซะเหงื่อตกเลย....


ข้าวเกรียบปากหม้อหลากสี แป้งนุ่มรสชาดหอมหวาน

ขนมสาลี่นึ่ง

ขนมสาลีหอมนุ่มลิ้น อร่อยมากจริงๆค่ะ อาจารย์อ้อยเก่งมากๆเลย..ทำอะไรก็อร่อยไปหมด
อาจารย์ตั๊มไม่อยู่สองวันแล้วอาจารย์อ้อยเหมาคนเดียวเลยค่ะ คงจะเหนื่อยมาก
วันนี้เป็นวันสำคัญด้วย เป็นวันเลือกตั้ง สว. เพื่อนๆหลายคนต้องมาสายเพราะต้องไปใช้สิทธิกันน่ะค่ะ

เคล็ดลับสูตรอาหาร จาก ต้นกล้าอาชีพนครสวรรค์ รุ่นที่ 7
สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 8 จังหวัดนครสวรรค์
ส่วนผสม ไข่เป็ด น้ำตาลทราย ผงฟู น้ำมะนาว ลูกเกดดำโรยหน้า แป้งสาลีอเนกประสงค์
วิธีทำ ตีไข่กับน้ำตาลจนขึ้นขาวข้น ร่อนแป้งผงฟูวนิลาผง ใส่น้ำมะนาวในไข่ที่ขึ้นเต็มที่ ตีต่อไปจนขึ้นเต็มที่ ค่อยๆใส่แป้งสลับกับน้ำ นึ่งในถาดร้อน ประมาณ 10 นาที นกขนมเทลงในถาดที่รองกระดาษไข แล้วนึง 20 นาที

ขนมที่ตีจนขึ้นฟูแล้ว เตรียมนึ่งแล้วค่ะ ใช้เวลา 20 นาที
สาคูไส้หมู

ต้นกล้าอาชีพนครสวรรค์ รุ่นที่ 7
สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 8 จังหวัดนครสวรรค์


ส่วนผสม ถั่วลิสงคั่วโขลก หมูสับ หอมแดง (หั่นเต๋า) หอมใหญ่ (หั่นเต๋า) หัวผักกาดหั่นฝอย กระเทียม+รากผักชี+พริกไทย


วิธีทำ เจียวกระเทียมรากผักชีพริกไทยจนหอม ใส่หอมแดง หอมใหญ่ ผัดให้แห้งก่อน เติมผักกาดหวาน ผัดให้เข้ากันแล้วจึงใส่หมู เสร็จแล้วใส่เครื่องปรุงรส น้ำตาลและน้ำตาลทรายเติมหลังสุด


การล้างสาคู ใช้กระชอนล้างผ่านน้ำแล้วแช่เม็ดสาคูในน้ำจนกว่าสาคูอิ่มน้ำ ระดับน้ำพอดีกับสาคู

ขั้นต่อไป นำสาคูมาปั้นเป็นก้อนแล้วแผ่ออกให้แบนห่อไส้ปั้นเป็นลูกกลม นำไปนึ่งในลังถึงที่ปูด้วยใบตองทาน้ำมัน สุกแล้วโรยกระเทียมเจียวและน้ำมันตามใจชอบเท่านี้เป็นอันเสร็จ

สามัคคีกันผัด เร็ว...มาช่วยกัน

แป้งที่แช่น้ำแล้วกับไส้ ปั้นรวมกันรอนึ่งค่ะ

สาคูค่ะ แต่ละลูกอาจไม่เท่ากัน...เพราะมากันเป็นครอบครัว พ่อ แม่ลูก ค่ะ
ข้อมูลส่งเสริมอาชีพและการท่องเที่ยว ประชาสัมพันธ์โดย ต้นกล้าอาชีพนครสวรรค์ รุ่น7

ทับทิมกรอบ
สีสันน่ากิน กรอบหอมหวานที่สำคัญอร่อยมากค่ะ

สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 8 นครสวรรค์
เคล็ดลับสูตรอาหาร จาก ต้นกล้าอาชีพนครสวรรค์ รุ่น 7

ส่วนผสม แห้วจีน แป้งท้าวยายม่อม แป้งมัน น้ำหวานสำหรับชุบสี

วิธีทำ หั่นแห้วเป็นเต๋า แล้วไปแช่น้ำใส่สีเพื่อให้แห้วดูดซึมสี แล้วนำขึ้นมาพึ่งให้สเด็ดน้ำ นำมาคลุกกับแป้ง


การลวก ลวกให้น้ำเดือดจัด แล้วตักใส่น้ำเย็นจัด แล้วมาพักในน้ำอุณหภูมิปกติ


การทำน้ำกะทิ

ส่วนผสม มะพร้าวขูดขาว ใบเตย น้ำเปล่า

วิธีทำ นำมะพร้าวใส่ใบเตยแล้วตั้งไฟจนร้อน และต้องไม่เดือด เสร็จแล้วเติมผงวนิลาเพิ่มความหอม

แห้วที่ชุปสีน้ำหวานแล้วคลุกกับแป้ง...เตรียมนำไปลวกน้ำร้อน

น้ำเชื่อมใสแจ๋วหอมใบเตยและขนุนมากค่ะ

เสร็จแล้วค่ะทับทิมกรอบ





หลังจากที่ได้เคล็ดลับจากการทำทับทิมกรอบจากต้นกล้าอาชีพ

ดิฉันก็เลยมาชวนหลานๆ มาลองทำกันดูบ้าง
มาดูกันค่ะว่าผลออกมาเป็นยังไงค่ะ


น้องมายด์กำลัง เอามันแกวที่แช่ในสีชุบแป้ง






ผลออกมาหน้าตาแบบนี้ค่ะ เยี่ยม...

เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ โดยต้นกล้าอาชีพนครสวรรค์รุ่นที่ 7

โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง

โรคภูมิแพ้ทางผิวหนังเป็นโรคผิวหนังอักเสบที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก ลักษณะที่สำคัญของโรคคือผิวหนังเด็กจะแห้งและคันมาก นอกจากนี้ผิวหนังจะไวต่อสารภายนอกที่มาสัมผัส ทำให้มีผื่นขึ้นเป็นๆ หายๆ

เด็กแต่ละอายุ อาการจะต่างกันอย่างไระแบ่งเป็น 3 ช่วง

วัยทารก พบตั้งแต่เด็กอายุ 3 เดือนขึ้นไป ผื่นจะขึ้นบริเวณแก้ม ผื่นด้านนอกของแขน ขา ข้อมมือ และข้อเท้าโดยลักษณะผื่นจะเป็นตุ่มแดงคันหรือตุ่มน้ำใสเป็นน้ำเหลือง อาการจะดีขึ้นเมื่ออายุ 2-3 ปี

วัยเด็กโต ผื่นจะขึ้นที่คอ ข้อพับของแขนและขาทั้ง 2 ข้างผู้ป่วยจะคันมากและเกาจนเป็นผื่นหนา

วัยผู้ใหญ่ ผื่นจะเหมือนเด็กโต แต่อาจมีผื่นที่ข้อมือและเท้าร่วมด้วย

สาเหตุยังไม่ทราบแน่นอน แต่พบว่ากรรมพันธุ์มีส่วนเกี่ยวข้อง โรคนี้ไม่เกิดจาการติดเชื้อ จึงไม่ติดต่อไปยังผู้ใกล้ชิด

ปัจจัยที่ทำให้โรคกำเริบขึ้นคือ

1.ติดเชื้อแบคทีเรียเชื้อรา

2.สารระคายเคืองต่างๆ เช่น ผ้า สบู่และแป้งบางชนิด ผงซักฟอกเป็นต้น

3.อากาศร้อนหรือหนาวเกินไป

4.อากาศเย็นบางรายจะมีผื่นกำเริมขึ้น เมื่อ รับประทานนม ไข่ อาหารทอดถั่ว เป็นต้น

5.การแพ้สารต่างๆ ในอากาศ เช่น ไร่ฝุ่น

6.การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่นความเครียด ความกังวล จะทำให้อาการคันมากขึ้น

จะป้องกันและรักษาอย่างไร

1.หลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้อาการกำเริบ

2.ป้องกันผิวแห้งโดยใช้สารเคลือบผิวเช่นโลชั่นทาทันทีหลังอาบน้ำไม่ควรอาบน้ำบ่อยและใช้น้ำที่ร้อนเกินไปเพราะจะทำให้ผิวแห้งมากขึ้น

3.ใช้ครีมจำพวกสเตียรอยด์ ทาเฉพาะผื่นที่มีอาการเห่อและอักเสบ เมื่ออาการทุเลาแล้วควรจะหยุด และควรอยู่ในการดูแลของแพทย์

4.รับประทานยาแก้แพ้ เพื่อลดอาการคัน เพราะการเกาจะทำให้เป็นผื่นมากขึ้น

5.ในรายที่มีการติดเชื้อแทรกซ้อน เช่นมีน้ำเหลืองควรใช้ผ้าก๊อสสะอาดชุมน้ำยาประคมแผลครั้งละ 15 นาที วันละ 3-4 ครั้งจนกว่าผื่นจะแห้งและอาจต้องรับประทานยาปฏิชีวนะร่วมด้วย

โรคนี้อาการของโรคจะดีขึ้นและเป็นๆ หายๆได้ แต่ประมาณ ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยจะดีขึ้นเมื่อายุ 10 ปี

แหล่งข้อมูล : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น